วันอังคารที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2554

: HTML
เอชทีเอ็มแอล (อังกฤษ: HTML ย่อมาจาก Hypertext Markup Language) เป็นภาษามาร์กอัปหลักในปัจจุบันที่ใช้ในการสร้างเว็บเพจ หรือข้อมูลอื่นที่เรียกดูผ่านทางเว็บเบราว์เซอร์ ซึ่งตัวโค้ดจะแสดงโครงสร้างของข้อมูล ในการแสดง หัวข้อ ลิงก์ ย่อหน้า รายการ รวมถึงการสร้างแบบฟอร์ม เชื่อมโยงภาพหรือวิดีโอด้วย โครงสร้างของโค้ดเอชทีเอ็มแอลจะอยู่ในลักษณะภายในวงเล็บสามเหลี่ยม

webpage,
เว็บเพจ (อังกฤษ: webpage, web page) หรือ หน้าเว็บ หมายถึง หน้าหนึ่ง ๆ ของเว็บไซต์ ที่เราเปิดขึ้นมาใช้งาน


home page
โฮมเพจ  คือ หน้าแรกที่แสดงข้อมูลของเว็บไซต์ หรือ WWW (World Wide Web) เพื่อเป็นการประชาสัมพันธ์ หรือ เป็นการดึงดูด ให้เข้าไปชมข้อมูลภายใน  ซึ่งภายในโฮมเพจอาจมีเอกสารข้อความอื่นๆที่เรียกว่า เว็บเพจ (web page) เชื่อมโยงต่อจากโฮมเพจนั้นได้อีกเป็นจำนวนมากคะ

WWW
WWW (World Wide Web) หมายถึงระบบเครื่อข่ายคอมพิวเตอร์ ที่เชื่อมโยงกันทั่วโลก โดยใช้โปรโตคอลที่ชื่อว่า TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet Protocol)


Hyperlink
การเชื่อมโยงหลายมิติ (Hyperlink) ซึ่งมักเรียกกันย่อๆ ว่า "ลิงค์" หมายถึงจุดเชื่อมโยงบนหน้าเว็บเพจ ซึ่งอาจมีลักษณะเป็นข้อความ ปุ่มกดหรือรูปภาพ ที่สามารถคลิกเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงโดยจะส่งให้ผู้ใช้ไปสู่เว็บเพจหน้าอื่น ไปที่ทรัพยากรอื่น รวมทั้งไปยังโปรแกรมที่มีการทำงานในเว็บเพจเหล่านั้น

web browser
เว็บเบราว์เซอร์ (อังกฤษ: web browser) เบราว์เซอร์ หรือ โปรแกรมค้นดูเว็บ คือโปรแกรมคอมพิวเตอร์ ที่ผู้ใช้สามารถดูข้อมูลและโต้ตอบกับข้อมูลสารสนเทศที่จัดเก็บในหน้าเวบที่สร้างด้วยภาษาเฉพาะ เช่น ภาษาเอชทีเอ็มแอล ที่จัดเก็บไว้ที่ระบบบริการเว็บหรือเว็บเซิร์ฟเวอร์หรือระบบคลังข้อมูลอื่น ๆ โดยโปรแกรมค้นดูเว็บเปรียบเสมือนเครื่องมือในการติดต่อกับเครือข่ายคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่ที่เรียกว่าเวิลด์ไวด์เว็บ

URL

URL คือตำแหน่งของไฟล์บนเว็บ ตัวอย่างของ URL ได้แก่ http://www.blogger.com/ หรือ http://myblog.blogspot.com/ URL ที่คุณเลือกจะถูกใช้งานโดยผู้เข้าชมหรือตัวคุณเอง ในการเข้าถึงบล็อกของคุณ

Protocol
โปรโตคอล ( Protocol ) คือระเบียบวิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสารข้อมูล โดยสามารถส่งผ่านข้อมูลไปยังปลายทางได้อย่างถูกต้อง ซึ่งตัวโปรโตคอลที่นิยมใช้ในปัจจุบันคือ TCP/IP นอกจากนี้ยังมีการออกแบบโปรโตคอลตัวอื่นๆขึ้นมาใช้งานอีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX,โปรโตคอล NetBEUI และ โปรโตคอล Apple Talk


: HTTP
เอชทีทีพี (อังกฤษ: HyperText Transfer Protocol: HTTP) คือโพรโทคอลในระดับชั้นโปรแกรมประยุกต์เพื่อการแจกจ่ายและการทำงานร่วมกันกับสารสนเทศของสื่อผสม [2] ใช้สำหรับการรับทรัพยากรที่เชื่อมโยงกับภายนอก ซึ่งนำไปสู่การจัดตั้งเวิลด์ไวด์เว็บ

FTP
FTP ย่อมาจาก (File Transfer Protocol) คือ รูปแบบมาตรฐานบนโครงข่าย (standard network protocol) ชนิดหนึ่ง ที่ใช้สำหรับการส่งไฟล์ หรือรับไฟล์ (receive file) ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นลูกข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่าไคลเอนต์ (client) กับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เป็นแม่ข่ายที่ส่วนใหญ่จะเรียกว่า โฮสติง (hosting) หรือ เซิร์ฟเวอร์ (server) โดยที่การติดต่อกันทาง FTP เราจะต้องติดต่อกันทาง Port 21 ซึ่งก่อนที่จะเข้าใช้งานได้นั้น จะต้องเป็นสมาชิกและมีชื่อผู้เข้าใช้ (User) และ รหัสผู้เข้าใช้ (password) ก่อน โปรแกรมสำหรับติดต่อกับแม่ข่าย (server) ส่วนมากจะใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เช่นโปรแกรม ไฟล์ซิลลา CuteFTP หรือ WSFTP ในการติดต่อ เป็นต้น
IP Address
IP Address คือหมายเลขประจำเครื่องคอมพิวเตอร์ ซึ่งประกอบด้วยตัวเลข 4 ชุด มีเครื่องหมายจุดขั้นระหว่างชุด?ตัวอย่าง IP Address 192.168.0.1? เป็นต้น


domain name)
โดเมนเนม ความหมายโดยทั่วๆ ไป หมายถึง ชื่อเว็บไซต์ ชื่อบล็อก ซึ่งเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นเพื่อให้จดจำและนำไปใช้งานได้ง่าย
ทั้งในการเข้าชมผ่านบราวเซอร์ของผู้ใช้ทั่วไป ยังรวมไปถึงผู้ดูแลระบบโดเมนเนมซีสเทม ที่สามารถแก้ไขไอพีแอดเดรสของชื่อโดเมนเนมนั้นๆ ได้ทันที
โดยที่ผู้ใช้ทั่วไปไม่จำเป็นต้องรับรู้หรือจดจำไอพีแอดเดรสที่มีการเปลี่ยนแปลง
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เผยแพร่เว็บไซต์ จะมีโดนเมนเนมเฉพาะไม่ซ้ำกับใคร

(Bluetooth
บลูทูธ (Bluetooth) เป็นข้อกำหนดสำหรับอุตสาหกรรมเครือข่ายส่วนบุคคล (Personal Area Networks - PAN) แบบไร้สาย บลูทูทช่วยให้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์สามารถเชื่อมต่อกันได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ พีดีเอ คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล โดยผ่านทางคลื่นวิทยุ

Wi-Fi
วายฟาย[1] (Wi-Fi ย่อมาจาก wireless fidelity) หมายถึงชุดผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่สามารถใช้ได้กับมาตรฐานเครือข่ายคอมพิวเตอร์แบบไร้สาย (WLAN) ซึ่งอยู่บนมาตรฐาน IEEE 802.11






Wi-MAX
WiMAX คือ Metropolitan Broadband Wireless Access หรือ "เครือข่ายบริการ อินเตอร์เน็ตไร้สายความเร็วสูง ที่มีพื้นที่ครอบคลุมบริเวณกว้างมาก" (นิยามโดยผู้เขียน) ที่มีรัศมีบริการประมาณ 3-10 กม. เมื่อนึกถึงรัศมี 10 กม. นั่นหมายถึงมีพื้นที่ครอบคลุมในหนึ่ง ไซต์ ถึง ประมาณ 400 ตร.กม. เลยทีดียว (ปัจจุบันพูดกันที่รัศมี 50 กม.) โดยให้ความเร็วได้ถึง 70 Mbps แถมมีการ Multiplex ความถี่แบบ OFDMA (Orthogonal Frequency Division Multiple Access) และเป็น Non-Line of Sight (NLOS) ที่เรียกได้ว่าแม้มีสิ่งกีดขวางกั้นอยู่ข้อมูลก็จะสามารถสะท้อนไปมาจนในที่สุดสามารถรับสัญญาณข้อมูลได้ครบ ใช้ความถี่ในย่าน hr2-11 GHz ส่วนการใช้งานในแบบเคลื่อนที่หรือ Mobile BWA ก็คือมาตรฐาน IEEE 802.16e ซึ่งมาตรฐานก่อนหน้า 802.16 a-d นั้นคือพัฒนาประสิทธิภาพขึ้นเรื่อยๆ เท่านั้นเอง นั่นคือความหมายคร่าวๆ ว่า WiMAX คืออะไร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น